ระบบคลัง

ระบบงานการคลัง
วัตถุประสงค์
- เพื่อใช้ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือภายในโรงงาน รวมถึงการเช็คจำนวนของสินค้าต่างๆ
- เพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลออเดอร์จากระบบการขาย
- เพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลสินค้าคงเหลือได้          
ความสามารถของระบบ
- สามารถเพิ่มลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าในคลังได้
-  สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าได้
-  สามารถทำใบเบิกสินค้าได้
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า
1. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
2. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เนื่องจากสินค้าจัดเก็บเอกสารอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
3. การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของแผนกการขาย
4. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอ เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
5. จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบพัฒนาระบบการคลังมาใช้งาน
             หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิม และความต้องการของระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว จากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มานำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ

         แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิ้น 3 ทางเลือก

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนนเชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือดซื้อ Software A มาใช้งานเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการ มากที่สุด
ทางเลือกที่ 2 :ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่  2
            สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือดซื้อ Software A มาใช้งานเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการ มากที่สุด

แนวทางเลือกที่ 3: ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้

การประเมินแนวทางเลือกที่ 2 ไม่มีในที่นี้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
 ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 เดือน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 250,000 บาท ( ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสำรองฉุกเฉิน )

เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม

                ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้ง สาม แนวทาง จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา เลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
                หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก(คะแนน)ดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการคลังบริษัทเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลัง
วัตถุประสงค์
โครงการการพัฒนาระบบการคลัง มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบการคลัง ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการคลังของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยใช้ทีมงามเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการพร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ระบบจะต้องรองรับการทางานแบบ Multi-User ได้
ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยามากที่สุด
ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
ความต้องการในระบบใหม่ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้คือ
-                   ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
-                   สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
-                   สามารถเพิ่มแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
-                   สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
-                   การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่นฝ่ายจัดส่ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
-                   บริษัทสามารถตรวจสอบแก้ไขรายการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าได้
-                   บริษัทสามารถทราบยอดการเบิกสินค้าออกจากคลังได้
-                   บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นงานของระบบการคลังในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
-                   การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
-                   ลดระยะเวลาในการทำงาน
            แนวทางในการพัฒนา
                        การพัฒนาระบบของบริษัท อิชิไม่ตัน จำกัดเป็นการพัฒนาระบบในส่วนของแผนกการคลังในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับการคลังต่างๆ เช่น เช็คสินค้าในคลังเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลังตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวและผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
       1.  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
       2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
       3.  การวิเคราะห์ระบบ
       4.  การออกแบบเชิงตรรกะ
       5.  การออกแบบเชิงกายภาพ
       6.  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
       7.  การซ่อมบำรุงระบบ 
      ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
                 เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
                 ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ 
       - ระบบการคลัง
      ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                     เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
           -                   เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
           -                   กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
           -                   วางแผนการทำงานของระบบใหม่
       ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์
    1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของระบบการคลัง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการตรวจสอบสินค้า
     2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
     3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
     ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
      ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบการรายงานข้อมูลสินค้าย้อนหลัง ฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
      ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
  •            เขียนโปรแกรม
  •            ทดสอบโปรแกรม
  •             ติดตั้งระบบ
  •                   จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
           อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องพัฒนาระบบการคลัง มีส่วนที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
-นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 8 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) จำนวน 3 เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง จำนวน 8  ชุด (ตามความเหมาะสม)
ประมาณการใช้งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนสำหรับทีมพัฒนาระบบ                                                          180,000     บาท
2. ค่าอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน                                                               85,000      บาท
3. ค่าบำรุงรักษาระบบ                                                                                      36,000      บาท
รวม                                                                                                                301,000       บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินการจัดทำระบบรายรับ-รายจ่าย ประมาณการว่าจะต้องใช้ระยะเวลา 5 เดือนนับตั้งแต่ เดือน เมษายน – กรกฏาคม 2558 ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้รวมเพื่อเวลาที่ต้องสูญเสียไป กรณีมีเหตุไม่คาดคิด

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ

เมื่อโครงการพัฒนาระบบการคลังได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิมความต้องการในระบบใหม่ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
  •                  สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
  •                   สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้
  •                   สามารถเพิ่มแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
  •                   ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process  Modeling)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ (System Requirement Structuring)

 หลังจากโครงการพัฒนาระบบการคลัง ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้
อธิบาย Context Diagram ระบบคลังสินค้า
เริ่มแรกการเข้าใช้โปรแกรมโดยที่จะต้องทำการ Login ใช้งานระบบก่อน
Context Diagram นี้จะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและผู้จัดการฝ่ายการคลังโดยที่
พนักงาน พนักงานคลังจะป้อนข้อมูลต่างๆให้กับระบบคลังสินค้า คือ
1.เพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้า
 เมื่อพนักงาน ทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้า ระบบคลังสินค้า ก็จะมีการยืนยันบอกกลับมาที่พนักงาน
2.เรียกดูข้อมูลสินค้าในคลัง
พนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้และ สามารถ ดูรายละเอียดของสินค้าแต่ละชิ้นได้ เช่น ชื่อ ราคา ประเภท และจำนวนที่มี
3.เพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าในคลัง
เมื่อ มีการ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูล เข้าสู่ระบบคลังสินค้า ระบบก็จะมีการยืนยันบอกกลับมาที่พนักงาน
ผู้จัดการฝ่ายคลัง ผู้จัดการฝ่ายการคลัง ผู้จัดการจะไม่ใช่คนที่ เพิ่มข้อมูลแต่จะเป็นผู้ที่เรียกดูข้อมูล ที่ พนักงานได้ทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลต่าง คือ
1.เรียกดู ข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้า
2.เรียกดู ข้อมูลจำนวนสินค้าทั้งหมด
3.เรียกดูข้อมูลการเพิ่มสินค้าย้อนหลัง
Data Flow Diagram Level 0
อธิบาย Dataflow Diagram Level 0 
       จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 4 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0 เป็นระบบการเข้าใช้งานระบบโดยที่จะต้อง Login เข้าใช้งานระบบก่อนจึงเข้าไปใช้งานระบบอื่นๆได้
Process 2.0 ระบบเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าเป็นระบบจัดการเกี่ยวกับรายการสินค้าทั้งหมดจะมีข้อมูลเฉพาะของสินค้า ประเภทสินค้า ข้อมูลเข้าและออกจากProcess ดังนี้เมื่อพนักงานคลังทำการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าโดยที่กรอกข้อมูลเข้าระบบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาที่ระบบระบบจะทำการนำข้อมูลที่ได้รับไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูลของข้อมูลสินค้าแล้วระบบก็จะทำการส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลสินค้ากลับมาที่พนักงานและถ้าพนักงานต้องการแก้ไขข้อมูลสินค้าจะต้องเรียกดุข้อมูลที่ต้องการแก้ไขก่อน แล้วจึงทำการแก้ไขได้จากนั้นระบบจะทำการบันทึกการแก้ไขพร้อมกับส่งการยืนยันการแก้ไขข้อมูลกลับมาที่พนักงาน
Process 3.0 ระบบเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าใน เป็นระบบที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจำนวนสินค้าในระบบคลังเพื่อเช็คจำนวนสินค้าคงเหลือ ซึ่งระบบจะทำงานโดยเชื่อมกับระบบพนักงานขายเมื่อพนักงานขายได้ขายสินค้าออกไปแล้วระบบขายจะตัดยอดในระบบคลังสินค้าไปด้วย ระบบจะนำข้อมูลไปจัดเก็บเข้าแฟ้มข้อมูลของข้อมูลการคลังแล้วระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลสินค้าทั้งหมดในคลัง
Process 4.0 ระบบสรุปข้อมูลทั้งหมดเป็นระบบที่เหมือนกับการทำรายงานสรุปข้อมูลต่างโดยต้องเรียกดูข้อมูลจากระบบระบบจะดึกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลมาแสดงและสามารถทำรายงานสรุปข้อมูลต่างๆได้

Data flow Diagram Level 1 of Process 1.0 ระบบ การ Login เข้าใช้งาน

อธิบาย Data flow Diagram Level 1
Process 1.1 เป็นการรับข้อมูลเข้ามาตรวจเช็คกับฐานข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่เพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้างการเข้าใช้งานระบบ
Process 1.2 เมื่อเกิดการผิดพลาดระบบจะแจ้งกลับว่าการเข้าระบบผิดพลาดจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้
Process 1.3 เมื่อมีการเข้าใช้งานระบบสำเร็จระบบจะทำการแจ้งกลับว่าเข้าระบบสำเร็จแล้วก็จะเริ่มใช้งานระบบต่างๆที่มีได้
 Process 2.1 ได้รับข้อมูลการเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าจากพนักงานจะนำข้อมูลไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลรายการสินค้าและจะส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลกลับไปให้พนักงาน
Process 2.2 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากพนักงาน Process 1.2 จะทำการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลรายการสินค้ามาแสดงให้พนักงานและจะส่งต่อให้ Process ถัดไป
Process 2.3 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถแก้ไขข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.3จะทาการส่งข้อมูลที่ถูกแก้ไขไปบันทึกทับข้อมูลเดิมที่แฟ้มข้อมูลรายการสินค้า
Process 2.4 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถลบข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.4 จะทำการลบข้อมูลที่ถูกเลือกออกจากแฟ้มข้อมูลรายการสินค้า
Process 3.1 ได้รับข้อมูลการเพิ่มข้อมูลสินค้าในคลังจากพนักงานจะนำข้อมูลไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลสินค้าในคลังและจะส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลกลับไปให้พนักงาน
Process 3.2 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากพนักงาน Process 1.2 จะทำการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้าในคลังมาแสดงให้พนักงานและจะส่งต่อให้ Process ถัดไป
Process 3.3 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถแก้ไขข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.3จะทำการส่งข้อมูลที่ถูกแก้ไขไปบันทึกทับข้อมูลเดิมที่แฟ้มข้อมูลสินค้าในคลัง
Process 3.4 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถลบข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.4 จะทำการลบข้อมูลที่ถูกเลือกออกจากแฟ้มข้อมูลสินค้าในคลัง
Process 4.1 จะทำการเรียกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลทั้งหมดออกมาแสดงเมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้ม
Process 4.2 จะทาการพิมพ์รายงานสรุปข้อมูลต่างๆที่ถูกเรียกดูออกมาจากแฟ้มข้อมูลให้กับผู้จักการฝ่ายการคลัง

โครงสร้างฐานข้อมูลระบบคลังสินค้าได้มีการจัดการสร้างตารางเพื่อสร้างความสัมพันธ์กันของข้อมูลโดยมีตารางดังต่อไปนี้

ตาราง User clang ใช้จัดเก็บ ข้อมูลผู้ใช้งานระบบ โดยจะ ใช้ในการตรวจสอบของ Process Login

ตาราง Product ใช้จัดเก็บข้อมูลสินค้าในคลัง

ตาราง Picking ใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทสินค้า

ตาราง Product_Listall ใช้จัดเก็บข้อมูลรายการสินค้า



ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface
หน้าเข้าสู่ระบบ

เมื่อเข้าล็อกอินสำเร็จก็จะเข้ามาที่หน้าเมนูหลักจะมีปุ่มเมนู เลือกการทำงานของโปรแกรม และสามารถออกจากโปรแกรมได้โดยการกดปุ่ม logout

เมื่อเข้าเมนูเพิ่มลบแก้ไข้รายการสินค้าก็จะเข้ามาที่หน้าข้อมูลสินค้าทั้งหมด สามารถเลือกการทำงานของโปรแกรมได้ ทั้ง เพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา บันทึก พิมพ์ และสามารถออกจากโปรแกรมได้โดยการกดปุ่ม logout


เมื่อเข้าเมนูเพิ่มลบแก้ไขสินค้าในคลังก็จะเข้ามาที่หน้าข้อมูลสินค้าในคลังทั้งหมด สามารถเลือกการทำงานของโปรแกรมได้ ทั้ง เพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา บันทึก พิมพ์ และสามารถออกจากโปรแกรมได้โดยการกดปุ่ม logout

ขั้นที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ
ทีมงานได้จัดทำเอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบคลังสินค้าเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้นโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้แนะนำโปรแกรมระบบรายรับ-รายจ่าย
    โปรแกรมระบบคลังสินค้าเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 3 ระบบได้แก่
1.   ระบบการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าในคลังของบริษัทสามารถเพิ่มลบแก้ไขบันทึกข้อมูลของสินค้าในคลังได้
2. .   ระบบการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าของบริษัทสามารถเพิ่มลบแก้ไขบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าในคลังได้
3. ระบบสรุปรายงานเป็นระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดในระบบและสามารถสั่งพิมพ์รายงานออกมาในรูปแบบรายงาน
การติดตั้งระบบทีมงานเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน คือ การใช้ระบบใหม่และระบบเก่าไปพร้อมๆกันเพราะทีมงานที่พัฒนาระบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงานเพราะถ้าหาวางระบบใหม่ทั้งหมดทีเดียว อาจทำให้การดำเนินงานเกิดการขัดข้องได้จึงเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน


ขั้นที่ 7
การซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็วหลังเกิดปัญหา









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น